ufabet

งาดำ งาขาว กับประโยชน์ดี ๆ ทางสุขภาพ

ประโยชน์ทางโภชนาการของงาดำและงาขาวอาการไอ จากการระบุประสิทธิภาพการรักษาโรคของเมล็ดงาโดยฐานข้อมูลทางวิทยาศาสตร์ที่ว่าช่วยบรรเทาอาการไอ

นับเป็นประโยชน์ข้อเดียวของงาดำและงาขาวที่มีข้อมูลมากที่สุดในปัจจุบัน โดยอยู่ในระดับที่อาจได้ผล (Possibly Effective) ต่างจากโรคชนิดอื่น ๆ ที่ยังศึกษาไม่มากพอจะระบุประสิทธิภาพในการรักษาได้ (Insufficient Evidence)

การศึกษาเกี่ยวกับสรรพคุณของงาดำและงาขาวที่ช่วยรักษาอาการไอ เป็นการทดลองในเด็กอายุ 2-12 ปี จำนวน 107 คน ที่มีอาการไอจากโรคหวัด โดยให้รับประทานน้ำมันงา 5 มิลลิลิตรก่อนนอนติดต่อกัน 3 วัน

เพื่อลดความรุนแรงและความถี่ของการไอ ผลลัพธ์พบว่าในวันแรกอาการไอของเด็กที่รับประทานน้ำมันงาดีขึ้นกว่ากลุ่มรับประทานยาหลอก แต่อยู่ในระดับไม่มากนัก และเมื่อผ่านไป 3 วัน เด็กทั้ง 2 กลุ่มต่างมีอาการดีขึ้น และไม่พบว่าการใช้น้ำมันงาก่อให้เกิดผลข้างเคียงใด ๆ หากต้องการใช้แก้อาการไอจึงน่าจะใช้ได้อย่างปลอดภัยในช่วงระยะเวลาสั้น ๆ ก่อนนอนดังการทดลอง

ลดระดับคอเลสเตอรอล น้ำมันงาเป็นหนึ่งในน้ำมันจากพืชที่กล่าวกันว่าดีต่อสุขภาพ โดยเชื่อว่าอุดมไปด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวซึ่งเป็นไขมันชนิดดีที่อาจช่วยลดปริมาณคอเลสเตอรอลและในน้ำมันงานี้ยังพบไขมันอิ่มตัวในปริมาณน้อยงานวิจัยหนึ่งยืนยันถึงประสิทธิภาพด้านนี้ของน้ำมันงาเปรียบเทียบกับน้ำมันมะกอก

โดยให้ผู้ที่มีภาวะคอเลสเตอรอลสูง 48 คนเข้าโปรแกรมรับประทานอาหารเพื่อลดคอเลสเตอรอลเป็นเวลา 1 เดือน จากนั้นจึงรับประทานอาหารที่ปรุงด้วยน้ำมันมะกอกหรือน้ำมันงาบริสุทธิ์ทุกวันแทนน้ำมันชนิดอื่นในปริมาณ 60 กรัม อีก 1 เดือน

ผลลัพธ์ชี้ว่าน้ำมันงาและน้ำมันมะกอกต่างช่วยลดระดับไขมันในเลือดได้ แต่น้ำมันงาจะช่วยให้ระดับไขมันไตรกลีเซอร์ไรด์และไขมันชนิดไม่ดีในเลือดลดลงได้มากกว่าอย่างมีนัยสำคัญ รวมทั้งส่งผลให้ระดับไขมันดีในเลือดสูงขึ้น

ufabet

น้ำหนักและรอบเอวลดลงเช่นเดียวกันกับกลุ่มบริโภคน้ำมันมะกอกทั้งนี้

ในปัจจุบันยังไม่มีการแนะนำให้ใช้น้ำมันงาลดระดับคอเลสเตอรอลอย่างแพร่หลาย นอกจากนี้ยังจัดเป็นหนึ่งในอาหารที่มีไขมันสูง การรับประทานในปริมาณมาก ๆ เพราะต้องการใช้รักษาโรคใด ๆ จึงไม่ควรอย่างยิ่ง ควรใช้สำหรับปรุงอาหารแทนน้ำมันชนิดอื่นเท่านั้น

เบาหวาน จากการทดสอบประสิทธิภาพของน้ำมันงาเมื่อใช้ร่วมกับยารักษาเบาหวานอย่างยาไกลเบนคลาไมด์ (Glibenclamide) ในผู้ป่วยเบาหวานระดับไม่รุนแรงถึงระดับรุนแรงปานกลาง โดยให้แบ่งออกเป็น 3 กลุ่ม

กลุ่มแรกได้รับน้ำมันงาแทนน้ำมันชนิดอื่น ๆ จากอาหาร กลุ่มที่ 2 ได้รับไกลเบนคลาไมด์ 5 มิลลิกรัมต่อวัน และกลุ่มสุดท้ายได้รับน้ำมันงาผสมกับยาไกลเบนคลาไมด์ ใช้เวลาทั้งหมด 60 วัน ผลการศึกษาพบว่า น้ำมันงาทำงานร่วมกับยาไกลเบนคลาไมด์ได้ดี โดยส่งผลให้มีประสิทธิภาพในการลดระดับน้ำตาลในเลือดได้มากขึ้นและปลอดภัยสำหรับผู้ป่วยโรคเบาหวาน

น้ำมันงามีคุณสมบัติลดระดับน้ำตาลในเลือดได้จริงหรือไม่ คงต้องรอผลสรุปในอนาคตที่อาจช่วยรับรองได้มากกว่านี้ อย่างไรก็ตาม ผู้ป่วยเบาหวานที่ต้องการลองใช้ ควรปรึกษาแพทย์ก่อนตัดสินใจ

เพราะอาจส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดต่ำและเป็นอันตรายได้ความดันโลหิตสูง ประสิทธิภาพของการใช้น้ำมันงากับการรักษาภาวะความดันโลหิตสูงนั้นมีการศึกษาโดยให้ผู้ป่วยจำนวน 32 คน ใช้น้ำมันงาประกอบอาหารแทนน้ำมันชนิดอื่นเป็นเวลา 45 วัน ซึ่งผลการทดลองบ่งชี้ว่าการใช้น้ำมันงาช่วยให้ระดับความดันโลหิตของผู้ป่วยภาวะความดันโลหิตสูงลดต่ำลง รวมถึงลดปฏิกิริยาระหว่างไขมันกับออกซิเจน และเพิ่มระดับสารต้านอนุมูลอิสระซึ่งส่งผลดีต่อร่างกาย


อ่านบทความข่าวสารอื่น ๆ เพิ่มเติมได้ที่ bm-pilates.com อัพเดตทุกสัปดาห์

Releated